เนื่องจากการใช้งานผ่านมือถือทางผู้ให้บริการจะแนะนำให้ตั้งค่าแบบ Imap เป็นการออกแบบมาเพื่อการตรวจสอบหรือเช็ค Email ได้ง่ายขึ้นผ่านอุปกรณ์ Smart phone หรือTaplet ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่กระทัดรัดและมีการเข้าใช้งานได้ง่ายผ่าน App mail หรือ App Gmail โดยที่ความกังวลของผู้ใช้งานคือหากใช้งาน Email ในมือถือพื้นที่มือถือจะเต็มไหมต้องขอตอบเลยว่าไม่เต็มเพราะเป็น imap เป็นการแค่ sync จาก Server มาโชว์ให้ผู้ใช้งานเห็นข้อมูลเหมือนหน้า Webmailไม่ได้ดูดข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่องยกเว้น Download ไฟล์แนบมาเปิดดูซึ่งจะไม่มีผลต่อพื้นที่ในมือถือมากนักเพราะผู้ใช้งานสามารถลบทิ้งได้กรณีที่ใช้งานไฟล์ดังกล่าวเรียบร้อย

การใช้งาน Email ในมือถือส่งผลอย่างไรต่อผู้ใช้งาน

  • การใช้งาน Email ผ่านมือถือหรืออุปกรณ์ Smart phone หรือ Taplet  นั่นส่งผลให้ผู้ใช้งานสะดวกต่อการตรวจสอบ Email หรือการสนทนาผ่าน Email ง่ายมากกว่าการเปิดคอมพิวเตอร์แล้วเช็ค Email ผ่านคอมพิวเตอร์อย่างแน่นอนแต่ที่ผู้ใช้งานควรระวังคือพื้นที่ Email จะเต็มค่อนข้างเร็วเนื่องจากการใช้งานผ่านมือถือนั้นเป็นการเก็บข้อมูลบน Server และ Sync มาโชว์ในอุปกรณ์มือถือเท่านั้น

Imap คืออะไรมีบทบาทอย่างไรต่อการใช้งาน Email

  • Imap เป็น Type ในการตั้งค่าระบบ Email การตั้งค่าแบบ Imap เป็นการเก็บข้อมูลบน Server และ Sync ข้อมูลมาโชว์ที่อุปกรณ์ของผู้ใช้งานโดยการเก็บข้อมูลบน Email Server นั้นเสื่ยงต่อการทำให้พื้นที่ Email เต็มได้ซึ่งผู้ใช้งานต้องคอย Manage พื้นที่โดยการลบ Email ที่ไม่ได้ใช้งานออกเพื่อป้องกันไม่ให้ Email เต็ม

คำถามที่พบบ่อย

ไฟล์แนบควรมีขนาดเท่าไรต่อการส่ง Email

  • ไฟล์แนบต่อการส่ง Email แต่ละครั้ง 30-50MB

การใช้งานแบบ Email  Imap เสี่ยงอย่างไร

  • เสี่ยงต่อพื้นที่ Email เต็ม
  • เสี่ยงต่อการลบข้อมูลผิดพลาด หากทำการลบจะไม่สามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้

การตั้งค่า Incoming และ Outgoing ในมือถือตั้งอย่างไร

  • Incoming
    imap.ตามด้วยชื่อโดเมน
    Port:143
  • Outgoing
    smtp.ตามด้วยชื่อโดเมน
    Port : 587

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้ Mail Server ส่ง Email ไม่ถึงปลายทาง

การแนบไฟล์ในการใช้งาน Mail Server ควรเป็นเท่าไหร่ ?

เอกสารที่ต้องใช้ในการจด Domain.com และ .co.th มีอะไรบ้าง

SSD Disk ใน Email Server ช่วยทำให้การใช้งานเร็วขึ้นจริงมั้ย ?

หากใช้งาน Email Server อยู่จะย้ายผู้ให้บริการได้อย่างไร ?

Facebook Comments
  • คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มั้ย
  • มี   ไม่มี